ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ
สภาพทางภูมิศาสตร์ : อินโดนีเซีย
อินโดนีเซียมีพื้นที่ประมาณ 5,070,606 ตารางกิโลเมตร (ใหญ่กว่าประเทศไทย 90%) แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 1,904,443 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ : ติดกับทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิก |
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ : ติดกับมหาสมุทรอินเดีย |
ทิศตะวันออก : ติดกับติมอร์-เลสเต และปาปัวนิวกินี |
ทิศใต้ : ติดกับทะเลติมอร์ |
อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ 17,508เกาะ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี | |
2. หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วย เกาะเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา ได้แก่ เกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์ | |
3. หมู่เกาะมาลุกุ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายา | |
4. อิเรียนจายา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
ในบรรดาหมู่เกาะทั้งหมด มีเกาะขนาดใหญ่ 5เกาะ ครอบคลุม พื้นที่ประมาณร้อยละ 90ของ ประเทศ คือ
1) กะลิมันตัน มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 28 ของพื้นที่ทั้งหมด และ ครอบคลุมพื้นที่ 2 ใน 3 ของเกาะบอร์เนียว
2) สุมาตรา มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ทั้งหมด
3) ปาปัว มีพื้นที่คิดเป็น ร้อยละ 22 ของพื้นที่ทั้งหมด และครอบคลุม พื้นที่ครึ่งหนึ่งด้านตะวันตกของเกาะนิวกินี
4) สุลาเวสี มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด
5) ชวา และมาดูรา ครอบคลุมพื้นที่เพียงร้อยละ 7 ของพื้นที่ ทั้งหมด แต่มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 64 ของทั้งประเทศ
อินโดนีเซียตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทร แปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพาน เชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมัน จากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
สภาพภูมิอากาศ : อินโดนีเซีย
เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะ ภูมิอากาศจึงมีลักษณะผสมผสาน และเปลี่ยนแปลงไปตามภูมิประเทศ โดยทั่วไปมีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร แบ่งเป็น 2 ฤดู คือ
1. ฤดูแล้ง ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม
2. ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น